วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555


วิศวกรรมศาสตร์

      ที่มา: http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2551/c515201/person/trem1/5203a/en-54.gif

 เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และกระบวนการ เพิ่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET[1]) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้
วิศวกรรมศาสตร์คือการประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาตร์อย่างสร้างสรรค์เพื่อการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, หรือกระบวนการผลิต หรืองานเพื่อการใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้โดดๆหรือประยุกต์เข้าด้วยกัน หรือเพื่อการสร้างหรือใช้งานสิ่งเหล่านั้นด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ใช้งานอย่างหมดจด หรือเพื่อการพยากรณ์พฤติกรรมของสิ่งเหล่านั้นภายใต้สภาวะที่เจาะจง สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จักต้องคำนึงถึงความมุ่งหมายในการใช้งาน, ความคุ้มค่าในการปฏิบัติการ แลความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพยสินด้วย
สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
วิศวกรรมศาสตร์นั้นคล้ายคลึงกับวิทยาศาสตร์ที่มีขอบข่ายกว้างขวางจนสามารถแตกแยกย่อยลงมาได้หลายสาขาย่อย และในแต่ละสาขาย่อยต่างก็มองตัวเองในสายงานต่างๆทางวิศวกรรม ถึงแม้ว่าในช่วงแรก วิศวกรจะถูกฝึกศึกษามาในสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่หลังจากผ่านประสบการณ์งานในสายวิศวกรรมมาแล้ว วิศวกรผู้นั้นอาจจะมีความสามารถในการทำงานได้หลากหลายสาขา โดยประวัติศาสตร์แล้ว วิศวกรรมสาขาหลักๆแบ่งได้ดังนี้
§  วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน - ออกแบบอากาศยาน อวกาศยาน และสิ่งที่เกี่ยวข้อง
§  วิศวกรรมเครื่องกล - ออกแบบระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบกันกระเทือน
§  วิศวกรรเคมี - ใช้หลักการทางเคมีในกระบวนการผลิตเคมีอุตสาหกรรม รวมไปถึงการค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงและวัสดุจำเพาะใหม่ๆ
§  วิศวกรรมไฟฟ้า - ออกแบบระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
§  วิศวกรรมโยธา - ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึกและอาคารบ้านเรือน
เนื่องด้วยพัฒนาการอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี วิศวกรรมสาขาใหม่ๆมีความสำคัญมากขึ้นและได้รับการพัฒนาเช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมแม็คคาทรอนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต นาโนเทคโนโลยี บางครั้ง สาขาใหม่นั้นก็เกิดขากการผสมผสานความรู้ของสาขาเดิมเข้าด้วยกัน การเกิดขึ้นใหม่ของสาขาทางวิศวกรรมนั้น โดยทั่วไปแล้วจะถูกนิยามแบบชั่วคราว ในหลากหลายรูปแบบ หรือนิยามในฐานสาขาย่อยของสาขาที่มีอยู่แล้ว ช่วงว่างของความรู้นี้ เมื่อได้รับความสนใจศึกษามากขึ้น ก็จะได้รับการยกระดับให้เป็นสาขาใหม่ ตัวชี้วัดได้ตัวหนึ่งของการเกิดสาขาใหม่นั้นคือการตั้งสาขาวิชาหรือหลักสูตรของมหาวิทยาลัยชื่อดัง
สำหรับวิศวกรรมศาสตร์ในแต่ละสาขาที่มีปรากฏนั้น มักจะมีการเหลื่อมล้ำของความรู้ โดยเฉพาะในสาขาที่มีการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์

ระเบียบวิธีทางวิศวกรรมศาสตร์

วิศวกรจะประยุกต์ใช้ความรู้ในศาสตร์ทางฟิสิกส์และคณิตศาสตร์เพื่อการหาทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมต่อความต้องการ หรือเพื่อการพัฒนางานที่รับผิดชอบให้ดียิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้ วิศวกรมีความจำป็นยวดยิ่งที่จะต้องมีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบในโครงการของตน ดังนั้น วิศวกรจำต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอดวิชาชีพของตน ถ้าทางเลือกนั้นมีมากกว่าหนึ่งทางเลือก วิศวกรจำต้องวพิเคราะห์ความแตกต่างของทางเลือกและตัดสินใจเลือกเอาทางเลือกที่เหมาะสมต่อความต้องการของปัญหามากที่สุด หน้าที่ที่สำคัญที่สุดและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของวิชาชีพวิศวกรก็คือการระบุ ทำความเข้าใจ และขยายความหมายของ"ข้อจำกัด"ในการออกแบบ เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ได้ผล และเพียงแค่ความสำเร็จในเชิงเทคนิกนั้นยังไม่ถือว่าดีพอ หากแต่จะต้องบรรลุความต้องการที่เหนือไปจากขอบข่ายเชิงเทคนิกอีกด้วย "ข้อจำกัด"ในที่นี้นั้นอาจจะหมายถึง ทรัพยากรที่มี แรงงาน จินตนาการหรือเทคโนโลยีที่มี ความยืดหยุ่นสำหรับการปรับปรุงพัฒนาต่อ และปัจจัยอื่นๆ เช่น ราคา ความปลอดภับ ความต้องการของตลาด ผลิตภาพ และสามารถใช้งานได้จริงในภาคสนามอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำความเข้าใจใน"ข้อจำกัด" วิศวกรจะต้องนำเอาความต้องการที่เจาะจงมาวิเคราะห์เพื่อสร้างขอบเขตซึ่งใช้งานได้จริงสำหรับการผลิตหรือปฏิบัติการ


 มหาวิทยาลัยขอนแก่นใช้ระบบการศึกษาแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งประกอบด้วย สองภาคการศึกษาปกติและหนึ่งภาคการศึกษาฤดูร้อน หนึ่งภาคการศึกษาปกติมี 15 สัปดาห์ และภาคการศึกษาฤดูร้อนมี 6 สัปดาห์ 

14 ภาคการศึกษาต้น เริ่มประมาณต้นเดือนมิถุนายน และสิ้นสุดปลายเดือนกันยายน 
14 ภาคการศึกษาปลาย เริ่มประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน และสิ้นสุดปลายเดือนกุมภาพันธ์ 
14 ภาคการศึกษาฤดูร้อน ระหว่างช่วงเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม

ระยะเวลาศึกษา
หลักสูตรปริญญาตรี (4 ปี) ให้มีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต และไม่เกิน 150 หน่วยกิต โดยกำหนดให้นักศึกษาหลักสูตรที่เรียนเต็มเวลา ใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้นไม่เกิน 8 ปีการศึกษา และหลักสูตรที่เรียนนอกเวลา ใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้นไม่เกิน 12 ปีการศึกษา
การรับบุคคลเข้าศึกษาใน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 รับสมัครโดยผ่านมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ADMISSION)

 โดยวิธีรับตรง และวิธีสมัครผ่าน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ซึ่งจะรับสมัคร 5 สาขาวิชา ประกอบด้วย

(1) สาขาวิชาวิศวกรรมทั่วไป ซึ่งนักศึกษาจะต้องเลือกเรียนสาขาเฉพาะเมื่อขึ้นปีการศึกษาที่สอง ในสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอุตสาหการ หรือวิศวกรรมเคมี
(2) สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
(3) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
(4) สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
(5) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

 โดยวิธีรับตรง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 โดยวิธีรับตรง ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
 โดยวิธีรับตรง ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
 โดยวิธีพิเศษ 5 โครงการ ได้แก่ 


(1) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก โครงการคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นด้านกีฬา
(2) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก โครงการรับนักเรียนที่เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมและบริการสังคม
(3) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับกรมอาชีวศึกษา
(4) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจาก โครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับปริญญาตรี แก่ผู้ด้อยโอกาสหรือพิการ
(5) นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกจากมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ ในพระ อุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ที่มา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น